อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือ

อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือ แปลมาจากภาษาอังกฤษคำว่า Anti-ship Missile ซึ่งต่อไปนี้จะใช้ว่า อาวุธปล่อยฯ เป็นอาวุธปล่อยนำวิถี (Missile) ที่ออกแบบมาใช้สำหรับโจมตีเรือโดนเฉพาะ ได้ก้าวขึ้นมาเป็นอาวุธที่มีอันตรายต่อเรือสูงสุดในยุคปัจจุบัน เพราะมีขนาดเล็ก ความเร็วสูง อำนาจทำลายรุนแรงและส่วนใหญ่มีวิถีบินเรี่ยน้ำ จึงต่อต้านได้ยาก กองทัพเรือทั่วโลกจึงจัดหามาใช้งาน จนถึงปัจจุบันราชนาวีไทยได้จัดหามารวม 5 แบบ ได้แก่ เกเบรียลจากอิสราเอล เอ็กโซเซท จากฝรั่งเศส ฮาร์พูนจากสหรัฐ ฯ ซี-801และซี-๘๐๒ จากสาธารณรัฐประชาชนจีน

เรือที่ติดอาวุธปล่อยนำวิถี

ปกติแล้วกองทัพเรือไทยจะทำการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีทุกปี ซึ่งจะยิงอาวุธปล่อยนำวิถี C-801 จากเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา และอาวุธปล่อยนำวิถี Exocet MM38 จากเรือเร็วโจมตี (อาวุธปล่อยนำวิถี) ชุดเรือหลวงราชฤทธิ์ครับ โดยจรวดทั้งสองมีระยะยิงราว 50 กิโลเมตร ทั้งนี้อาวุธปล่อยทั้งสองนั้นใกล้จะหมดอายุการใช้งาน ซึ่งในช่วงปีสองปีนี้เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยากำลังได้รับการเปลี่ยนอาวุธปล่อยนำวิถีจาก C-801 เป็น C-802A ที่มีระยะยิงไกลขึ้นเป็นราว 150 – 180 กิโลเมตรครับ

ฟาลังซ์

LD-2000เป็นระบบปตอ.ป้องกันภาคพื้น ภารกิจหลักยิงสกัดเป้าหมายที่ต้องอาศัยความแม่นยำสูงทุกชนิดโดยเฉพาะ ลูกระเบิด จรวดหลายลำกล้อง กระสุนปืนใหญ่ ที่มีขนาดเล็กตรวจจับจากเรดาห์ด้วยกันยาก  โดยอเมริกาและอิสราเอลพัฒนาในชื่อ เคาเตอร์-แรม หรือเรียกว่า ซี-แรม ที่ใช้ระบบป้องกันระยะประชิดประจำเรือแบบ ฟาลังซ์ ติดตั้งบนรถบรรทุกซึ่งพัฒนาโดยบริษัทเรย์เทียนของอเมริกา ซึ่งสามารถเข้าที่ตั้งยิงได้ทันทีโดยไม่ต้องพึ่งพาระบบอำนวยการรบจากที่อื่น มีพิสัยยิงค่อนข้างใกล้ซึ่งเน้นป้องกันขั้นสุดท้ายหากระบบแซมป้องกันหลักนั้นไม่สามารถทำการยิงได้หรือมีหลุดเข้ามาในจุดสำคัญเช่น ฐานบัญชาการ ฐานปืนใหญ่ และสนามบินเป็นต้น

 

หน่วยซีลไทย ยกพลขึ้นบก

 

ขณะที่ การฝึกในวันนี้เป็นการฝึกยกพลขึ้นบกระหว่างนาวิกโยธินไทย และนาวิกโยธินสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการฝึกทางยุทธการณ์แบบสะเทินน้ำสะเทินบก เป็นการปฏิบัติการทางทหารบนดินแดนข้าศึก จึงต้องใช้กำลังทางเรือเข้าร่วมหลายหน่วย การปฏิบัติการครั้งนี้หน่วยรบพิเศษ หรือหน่วยซิล จะถูกส่งขึ้นไปทำลายสิ่งกีดขวางหน้าหาด ก่อนที่กำลังรบจะยกพลขึ้นบกจะขึ้นฝั่ง โดยมีกำลังทางอากาศอย่าง F 16 รวมทั้งปืนใหญ่จากเรือ จะเข้าโจมตีข้าศึกบนฝั่งเพื่อเปิดทางให้นาวิกโยธิน

ขณะเดียวกัน การฝึกในครั้งนี้ก็เปรียบเสมือนการฝึกด้านการช่วยเหลือประชาชน และด้านมุษยธรรมเพื่อบรรเทาภัยพิบัติ ซึ่งหากเกิดเหตุภัยพิบัติอาทิเช่น คลื่นยักษ์สึนามิ ที่เกิดขึ้นบนเกาะอาจสร้างความเสียหาย ในพื้นที่ถูกตัดขาดจากภายนอก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาทางขึ้นฝั่ง ถึงแม้จะมีสิ่งกีดขวางจากความเสียหายของภัยพิบัติเพื่อเข้าช่วยเหลือประชาชน โดยเร่งส่งหน่วยแพทย์กองทัพเรือ พร้อมเครื่องปั่นไฟฟ้า อาหาร เป็นต้น ภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากเกิดเหตุการณ์ด้วย

This slideshow requires JavaScript.

ปิดอ่าวไทยล่าเรือประมงเวียดนาม

 

This slideshow requires JavaScript.

วันนี้(14ก.ย.)  พลเรือโท ชุมพล วงศ์เวคิน ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเขต ๑ (ศรชล.เขต ๑) ได้สั่งการให้ พลเรือตรี ไชยณรงค์ ชาววิเศษ เสนาธิการ ทัพเรือภาคที่ 1  นาวาเอก อาทร เคลือบมาศ รองเสนาธิการ นาวาเอก พนม ควรประดิษฐ์ ผู้อำนวยการ กองยุทธการ ทัพเรือภาคที่ 1 และ นายอังกูร รัตนะพรหม ผู้อำนวยการ ศูนย์บริหารจัดการประมงทะเลอ่าวไทย ฝั่งตะวันออก ระยอง ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีตำรวจน้ำ ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง กรมประมง มาร่วมวางแผนเพื่อดำเนินการจับกุมเรือประมงสัญชาติเวียดนาม ที่รุกล้ำน่านน้ำไทยในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ จำนวนมาก ทำให้เรือประมงไทยได้รับความเดือดร้อน และในเรื่องของความมั่นคงในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จึงได้จัดอากาศยานปราบเรือดำน้ำ ซีฮอร์ค จากฝูงบิน 2 หน่วยบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร จำนวน 2 ลำ  เรือหลวงเจ้าพระยา  เรือหลวงคีรีรัฐ เรือหลวงท้ายเหมือง  พร้อมเรือยาง กำลังพลหน่วยปฎิบัติการพิเศษ โดยให้อากาศยานบินออกไปสำรวจเป้าหมาย ทึ่กระจัดกระจายไปทั่วอ่าวไทยตอนบน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ห่างจาก 40 ไมล์ทะเล ห่างไปทางตอนใต้ของเกาะเสม็ด และ 50 ไมล์ทะเล ห่างจากด้านทิศใต้ของเกาะจวง

ต่อมา นาวาเอก พนม ควรประดิษฐ์ ผอ.กองยุทธการ ทัพเรือภาคที่ 1 ได้นำอากาศยาน ซีฮอร์ค ได้บินสำรวจในทะเล ปรากฎว่าได้พบเรือประมงชาวเวียดนาม จำนวนหลายลำ ลอยลำอยู่ในทะเล ในระยะห่างแต่ละลำ ประมาณ 3 ไมล์ จึงได้รายงานให้เรือหลวงเจ้าพระยาที่มุ่งหน้าไปทางด้านเกาะเสม็ด จ.ระยอง ส่วนเรือหลวง คีรีรัฐ กับเรือหลวง ท้ายเหมือง มุ่งหน้าไปสกัดด้านท้ายของเกาะจวง สัตหีบ ชลบุรี จนสามารถควบคุมเรือได้ทั้งหมด 12 ลำ  คนงานในเรือ จำนวน 108 คน จึงได้ควบคุมเรือทั้งหมดเข้ามายังท่าเทียบเรือศูนย์อนุรักษ์ชายฝั่งทะเล จ.ระยอง เพื่อดำเนินคดี ในข้อหาทำการประมงรุกล้ำน่านน้ำไทยไทยในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ หนีเข้าเมาในราชอาณาจักไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต และ พ.ร.บ.สิทธิทำการประมง

พลเรือโท ชุมพล  เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีเรือประมงสัญชาติเวียดนามได้รุกน่านน้ำไทยในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล ห่างจากฝั่ง จำนวนมาก ทำให้ชาวประมงไทยได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะในเรื่องของความมั่นคง การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล จึงได้นำหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเขต ๑ (ศรชล.เขต ๑) มาร่วมกันดำเนินการจับกุม จนสามารถจับกุมได้เพียง 12 ลำ คนงานในเรือ 108 คน ส่วนเรือที่เห็นเครื่องบิน และเรือรบได้หนีกระจัดกระจายไปจำนวนมาก และจะดำเนินการติดตามจับกุมต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้รุกเข้ามาในเขตน่านน้ำไทยต่อไป

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และศักดิ์ศรีความเป็นทหาร

ศักดิ์ศรี ทหาร เป็นสิ่งที่นักเรียนนายร้อยรุ่นพี่ได้สั่งสอนรุ่นน้องเสมอมา เพื่อให้นักเรียนนายร้อยทุกนาย รักและภูมิใจในเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของสถาบัน ด้วยการรักษาวินัยและแบบธรรมเนียมปฏิบัติของนักเรียนนายร้อยอย่างเคร่งครัด เพื่อรักษาชื่อเสียงของสถาบัน ซึ่งมีมานานกว่า 100 ปี มิให้เสื่อมถอยลง

นักเรียนนายร้อยทุกนายที่จบไปจะต้องเข้าใจถึงสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และทุกคนมีความเสมอภาคกัน แต่ทุกคนต่างแตกต่างกันด้วยหน้าที่ ดังนั้น หากนักเรียนนายร้อยเข้าใจแต่เพียงศักดิ์ศรีของตนและสถาบัน แต่ไม่เข้าใจถึงสิทธิและศักดิ์ศรีของผู้อื่นก็จะเป็นการย้อนกลับมาทำลายสถาบันตัวเองเช่นกัน

มนุษย์มีความต้องการได้รับการยกย่องให้เกียรติ และการยอมรับ แต่ในทางทหารนั้น ศักดิ์ศรีมีความสำคัญยิ่ง เป็นสิ่งที่ทำให้ทหารนั้นยอมเหนื่อย ยอมลำบาก ยอมเสี่ยงชีวิต หรือแม้กระทั่งยอมเสียชีวิตเพื่อหน้าที่โดยไม่ยอมเสียศักดิ์ศรี ถ้าทหารนั้นไม่มีศักดิ์ศรี ก็จะไร้เกียรติ ละทิ้งหน้าที่และหนีเอาตัวรอดเมื่อยามคับขัน

ดังนั้นนักเรียนนายร้อยทุกคนเมื่อจบไปแล้วต้องไปฝึกทหาร ควรปลูกฝังทหารให้ทหารนั้นรักในศักดิ์ศรีของตน กองทัพ และประเทศชาติ โดยนักเรียนนายร้อยจะต้องฝึกพวกทหารเหล่านั้นด้วยการให้เกียรติ ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทหารผู้นั้น และทหารเหล่านั้นก็จะจดจำและรักในศักดิ์ศรีที่ตัวเองมีไว้ด้วยชีวิต แม้กระทั่งยอมตายเพื่อผู้บังคับบัญชาของตัวเองนั่นเอง และกองทัพของเราก็จะเป็นกองทัพที่เข้มแข็ง

เรือหลวงตากสิน

เรือหลวงตากสิน  มีนามเรียกขานสากล HSMF และมีหมายเลขเรือ422 จัดเป็นเรือประเภทเรือฟริเกต  (FRIGATE)  ที่สร้างเป็นแบบเดียวกับเรือหลวงนเรศวร  ซึ่งกองทัพเรือได้สั่งต่อจาก ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน  นับเป็นเรือฟริเกตลำที่  6  และเป็นลำส่าสุดที่ต่อจากประเทศนี้  เป็นเรือที่กองทัพเรือออกแบบใหม่ร่วมกับบริษัท (CSSC)  โดยใช้ระบบอาวุธ  และเครื่องจักรส่วนใหญ่ของยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก  จึงทำให้มีขีดความสามารถ  และประสิทธิภาพในการรบที่ทันสมัย  มีระยะปฏิบัติการไกล เรือหลวงตากสินต่อที่ อู่จงหัว เมืองเซียงไฮ้  วางกระดูกงูเมื่อปี พ.ศ. 2534 ทำพิธีปล่อยลงน้ำเดือน พ.ค.2537 ขึ้นระวางประจำการ เมื่อ 28 ก.ย. 2538

 

 

This slideshow requires JavaScript.

เรือหลวงตากสิน  ได้รับการติดตั้งระบบอาวุธบางส่วนที่ทำโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน  เป็นระบบอาวุธที่ได้รับการพัฒนาให้มีความทันสมัยมากขึ้นกว่าที่กองทัพเรือได้เคยมีไว้ใช้งาน  เช่น  ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์  แบบ MIRAGE  ระบบโซนาร์ติดตั้งหัวเรือแบบ  SJD-7 , ระบบปืน  37 มม. รุ่นใหม่  และเรดาร์ตรวจการณ์อากาศพื้นน้ำ  แบบ 360 และที่พิเศษกว่านั้นคือ  มีความสามารถในการป้องกันภัยจากสงครามนิวเคลียร์  ชีวะเคมี  ทั้งยังได้รับการติดตั้งระบบอาวุธยุทโธปกรณ์รุ่นใหม่ของประเทศแถบยุโรป และสหรัฐอเมริกา  อาทิเช่น  เรดาร์ตรวจการณ์อากาศระยะไกล  แบบ  LW O8 , ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี HARPOON , ระบบควบคุมการยิง  แบบ STIR , ปืน  5 นิ้ว มาร์ค 45 , ตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำ มาร์ค  46 และระบบสนับสนุนการปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์  รวมทั้งใช้เครื่องยนต์  MTU แบบ  1163  และเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ แบบ LM-2500 เป็นระบบขับเคลื่อนซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในบรรดาเรือฟริเกต ต่าง ๆ ที่กองทัพเรือมีใช้อยู่ปัจจุบัน  นอกจากนี้ยังเป็นเรือที่ได้รับการออกแบบตัวเรือได้สวยงามที่สุดตามหลักเทคโนโลยีสมัยใหม่  ที่ช่วยลดการสะท้อนคลื่น

สนใจข้อมูลเรือหลวงนเรศวร คลิ๊กที่นี่

โจรสลัด

“โจร” หลาย ๆ คนคงคิดถึง ขโมยที่เข้าไปลักสิ่งของตามบ้านเรือน ตามสถานที่ต่าง ๆ อาจจะทำคนเดียวหรือว่าอาจจะทำเป็นขบวนการ แต่ก็มีน้อยคนที่เมื่อกล่าวถึง แล้วจะคิดถึงโจรสลัด สำหรับชาวเรืออย่างพวกเรา(ยังไม่เสร็จ)

 

เรือหลวงอ่างทอง

รูปภาพ

      หลังจากออกจากอู่ต่อเรือ ST Marine ประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา เรือ LPD (Landing Platform Dock) ลำแรกของไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานชื่อว่าเรือหลวงอ่างทองได้เดินทางมาถึงประเทศไทยและเทียบท่าที่ท่าเรือแหลมเทียนและมีพิธีต้อนรับเรือและกำลังพลชุดรับเรืออย่างเป็นทางการ ในเช้าของวันที่ 19 เมษายน 2555 ที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่ามกลางการต้อนรับจากครอบครัวและญาติของกำลังพลชุดรับเรือ โดยกองทัพเรือกำหนดหมายเลขให้เรือเป็นหมายเลข 791

ร.ล.อ่างทอง เป็นเรือในชั้น Endurance Class ซึ่งออกแบบและผลิตโดยบริษัท Singapore Technology Marine หรือ ST Marine ประเทศสิงคโปร์ โดยกองทัพเรือจัดสร้างขี้นเพื่อทดแทนเรือยกพลขึ้นบกที่ปลดระวางไปแล้ว 5 ลำคือ ร.ล.อ่างทอง(ลำที่ 1) , ร.ล.ช้าง , ร.ล.พงัน , ร.ล.ลันตา และ ร.ล.พระทอง ภารกิจของเรือหลวงอ่างทองหลักๆแล้วคือการสนับสนุนการยกพลขึ้นบก คุ้มครองพลประโยชน์ของชาติทางทะเล การช่วยเหลือผู้ประสพภัย

เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ลำนี้ มีระวางขับน้ำสูงสุด 7,600 ตัน ความยาวตลอดลำ 141 เมตร กว้าง 21 เมตร มีเรือเล็กประจำเรือ ประกอบด้วย เรือ LCVP 2 ลำ และเรือ LCM 2 ลำ สามารถเดินทางไกลต่อเนื่องได้ 45 วัน หรือ 1500 ไมล์ โดยไม่ต้องรับการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติม มีอาวุธประจำเรือที่สำคัญประกอบด้วย ปืน 76/62มม. OTO Super Rapid  , ปืน 30 MM DSI DS-30MR  , และปืน .50 นิ้ว ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเรือใช้ระบบ C-Series ของบริษัท Terma ซึ่งประกอบด้วยระบบอำนวยการรบ C-Flex ระบบตรวจจับ C-Search ซึ่งใช้เรดาร์แบบ SCANTER 4100 และระบบ C-Fire ซึ่งเป็นระบบควบคุมการยิงแบบ Electro-Optic

ร.ล.อ่างทองมีดาดฟ้าและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนการบินที่สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพเรือไทยได้ทุกแบบ นอกจากนั้นยังสามารถบรรทุกยานสะเทินน้ำสะเทินบก หรือ AAV รวมถึงมีเครนขนาด 20 ตัน และ 10 ตัน อย่างละ 1 ตัว มีห้องอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ พร้อมอุปกรณ์การเรียน การสอนสำหรับกำลังพล มีห้องพยาบาล ห้องผ่าตัด ห้องทำฟัน ในลักษณะเดียวกับเรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือลำนี้มีกำลังพลประจำเรือ จำนวน 151 นาย และมีที่พัก พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับกำลังรบยกพลขึ้นบกจำนวน 360นาย ฝ่ายอำนวยการ และกำลังพลจากหน่วยบิน จำนวน 30 นาย

ร.ล.อ่างทองจะปฏิบัติหน้าที่ในการส่งกำลังนาวิกโยธินเพื่อยกพลขึ้นบก ให้การสนับสนุนกองเรือ รวมถึงสามารถใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ การส่งอาหารและยาทางอากาศ รวมถึงการช่วยเหลืออพยพประชาชนออกจากพื้นที่ภัยพิบัติจากฝั่งเข้ามาสู่อู่ลอยของเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

“เรือลำน้อย”